Monday, December 28, 2015


บ้าน เป็นสถานที่พักอาศัยของเรา เป็นสถานที่รวมความรัก ความอบอุ่น เป็นจุดศูนย์รวมให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เรารู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน เรารู้สึกอยากกลับไปชาร์ทพลังเมื่ออยู่ไกลบ้าน

เมื่อบ้านเป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเรา เราจึงควรมีวิธีการจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในบ้านหรือที่พักอาศัย เพื่อให้บ้านเป็นสถานที่ห่างไกลจากภัยอาชญากรรม และให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งภัยอาชญกรรมที่มักเกิดในบ้านหรือที่พักอาศัยส่วนใหญ่คือความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ ซึ่งการเลือกบ้านหรือเป้าหมายที่คนร้ายมักจะรลงมือก่อเหตุนั้น คนร้ายมักมองหาหรือเลือกลงมือในเป้าหมายที่ง่ายต่อการก่อเหตุ ดังนั้นเราจึงควรศึกษาวิธีการหรือแนวทางในการป้องกันคนร้ายไม่ให้ลงมือก่อเหตุที่บ้านของเรา ซึ่งบล็อกนี้ผมได้รวมรวมแนวทางหรือวิธีการที่สำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการในการกระทำผิดของคนร้ายไม่ให้กระทำผิดหรือกระทำได้น้อยลง

วิธีการพื้นฐานในการป้องกันอาชญากรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อจากการถูกโจรกรรมทรัพย์สินในบ้านพักอาศัย  เช่นการเปิดไฟนอกบ้านในเวลากลางคืนให้มีแสงสว่าง การตัดแต่งต้นไม้ไม่ให้เป็นพุ่มจนคนร้ายหรือผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าไปหลบซ่อนได้ง่าย การล็อคกลอนประตู หน้าต่าง หรือการติดตั้งอุปกรณ์สัญญาณรักษาความปลอดภัยต่างๆ ที่บ้าน เป็นต้น นอกจากนี้การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นเพื่อนบ้านเตือนภัย ให้ช่วยดูบ้านในช่วงที่เราไม่อยู่บ้านก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการป้องกันอาชญากรรมจากคนร้ายหรือผู้ไม่หวังดีให้ลงมือก่อเหตุที่บ้านของเรา

ติดตามบทความเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยในที่บ้านหรือพักอาศัยได้ในบล็อคต่อไปนะครับ

ทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement Theory) 
มีหลักการ คือ การใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบออกตรวจท้องที่ มีการจัดสายตรวจแบบต่างๆและเขตตรวจ เน้นการปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลดช่องโอกาสในการกระทำผิดของคนร้าย มุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือเครื่องใช้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการตรวจท้องที่ และหากมีเหตุ อาชญากรรมเกิดขึ้น ต้องรีบสืบสวนจับกุมให้ได้อย่างรวดเร็ว ต้องไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างและคนร้ายไม่กล้ากระทำผิด ซึ่งแนวทางนี้ถือเป็นการดำเนินการลดปัญหาอาชญากรรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น บุคคลหรือหน่วยงานอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งคนในชุมชนเอง เป็นเพียงผู้ช่วยให้ข้อมูลหรือมีส่วนร่วมตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการเท่านั้น 

ทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ (Police Community Relation Theory)
มีหลักการคือเน้นการติดต่อสื่อสารสร้างความเข้าใจให้กับชุมชนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนให้ความร่วมมือแจ้งข่าวหรือเบาะแสอาชญากรรมมากขึ้น

ทฤษฎีควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม (Crime Control Through Environmental Design) 
หลักการนี้เป็นแนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อปัญหาอาชญากรรมในชุมชน โดยหลักการแล้วเราสามารถวางแผนเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือออกแบบสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งสภาพแวดล้อมรูปธรรมและนามธรรม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมได้ โดยทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบุคคลหรือทรัพย์โดยง่าย อันเป็นการปิดกั้นหรือลดช่องโอกาสในการก่อเหตุของคนร้าย

ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)  
หลักการนี้เป็นแนวคิดในการป้องกันอาชญากรรมแนวใหม่ที่เชื่อว่า ตำรวจกับประชาชนทำงานร่วมกันโดยใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ ย่อมสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ความรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรม ตลอดจนสภาพการไร้ระเบียบและความเสื่อมโทรมทางสังคมและทางกายภาพในชุมชนต่าง ๆได้ การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้นหน่วยงานตำรวจจะต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสุจริตชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้น ๆ โดยเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะในการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา และร่วมพัฒนาศักยภาพความเป็นอยู่โดยรวมของชุมชน หรืออีกนัยหนึ่ง หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นหลักการการทำงานของตำรวจซึ่งส่งเสริม สนับสนุน แก้ต้นเหตุเพื่อลดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความไม่เป็นระเบียบของชุมชน โดยใช้เทคนิคการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ด้วยความร่วมมือ ระหว่างตำรวจและชุมชน

ทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Windows Theory) 
หลักการนี้เป็นทฤษฎีที่สอดคล้องกับทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นแนวความคิดที่นำมาประยุกต์ใช้กับการป้องกันอาชญากรรมในชุมชน โดยมีแนวคิดพื้นฐานว่า หากปล่อยให้หน้าต่างบ้านหรือรถยนต์แตกเสียหายโดยไม่มีการซ่อมแซม คนทั่วไปก็จะคิดว่าเจ้าของไม่สนใจ ต่อมาก็จะมีคนขว้างหรือทำลายกระจกบานอื่นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งบ้านเรือนหรือรถยนต์เสียหายชำรุดทรุดโทรมมาก ยากต่อการซ่อมแซมให้กลับไปสู่สภาพเดิม ดังนั้นเมื่อหน้าต่างแตกแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องรีบซ่อมแซม

เมื่อนำมาเทียบเคียงกับปัญหาอาชญากรรมในชุมชน เช่น หากเกิดปัญหาความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย(Disorder) ปัญหาความสกปรกหรือปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในชุมชน (Quality Of Life Problems)แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีใครสนใจ ชุมชนนั้นจะยิ่งเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย ๆ แล้วจะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมหรือยาเสพติดตามมาภายหลัง ดังนั้น การแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ต้องสนใจจัดการปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน ปัญหาความไร้ระเบียบและปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วย ถ้าชุมชนใด มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ก็จะทำให้ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติดลดลงไปด้วย

ความหมายของอาชญากรรม

อาชญากรรม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542) หมายถึง  การกระทำความผิดทางอาญา โดยอาชญากรรมเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 มีหลักการว่า บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเช่นความผิดฐานลักทรัพย์ยักยอกทรัพย์ปล้นทรัพย์
การแบ่งประเภทอาชญากรรมได้มีนักอาชญาวิทยาอยู่หลายกลุ่มได้จำแนกประเภทของอาชญากรรมไว้เพื่อประโยชน์ในการอธิบายลักษณะที่แตกต่างกันโดยสามารถจัดเป็น 3 กลุ่มดังนี้

1. กลุ่มแรก จำแนกอาชญากรรมเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 
          1) อาชญากรรมประเภทที่ใช้ความรุนแรงประทุษภัยต่อชีวิตและร่างกาย (Violent Personal Crime) เช่นการประทุษร้ายต่อบุคคลการใช้อาวุธทำร้ายร่างกายบุคคลอื่น 
          2) อาชญากรรมประทุษร้ายต่อทรัพย์สินเป็นครั้งคราว (Occasional Property Crime) เช่น การลักทรัพย์การขโมยรถยนต์การทำให้เสียทรัพย์
          3) อาชญากรรมประเภทที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นช่องทาง (Occasional Crime) เช่น
การทุจริตในหน่วยงานหรือบริษัทของตนเองโดยการแสวงหาช่องทางและโอกาสในการประกอบอาชญากรรม 
          4) อาชญากรรมทางการเมือง (Political Crime) เช่น การวางระเบิดสถานที่สำคัญการจี้เครื่องบินการจับตัวประกัน 
          5) อาชญากรรมประเภทที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม (Public Order) เช่น พวกค้ายาเสพติดกลุ่มผู้ค้าประเวณี 
          6) อาชญากรรมประเภททั่วไป (Conventional Crime) เช่นการฉกชิงวิ่งราวการทะเลาะเบาะแว้งและการทำร้ายร่างกายกันเล็ก ๆ น้อย ๆ
          7) อาชญากรรมประเภทมืออาชีพ (Professional Crime) เช่น กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพโดยวิธีการผิดกฎหมายในขณะที่ผู้อื่นประกอบอาชีพโดยสุจริต 
          8) อาชญากรรมองค์กร (Organized Crime) เช่น พวกแก๊งมาเฟีย แก๊งอิทธิพลอยู่เบื้องหลังนักการเมือง เป็นอาชญากรองค์กรที่ยากแก่การทำลาย
          9) อาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Crime) เช่นองค์กรอาชญากรที่สนองความต้องการสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย

2. กลุ่มที่สอง แบ่งประเภทของอาชญากรรม โดยจัดเป็น 4 กลุ่ม คือ 
          1) อาชญากรรมรุนแรง (Violent Crimes) 
          2) อาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ (Property Crimes) 
          3) อาชญากรรมคอปกขาวอาชญากรรมองค์การและอาชญากรรมเศรษฐกิจ (White Collar Crime, Organized Crime, and Economic Crime) 
          4) อาชญากรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยทางสังคม (Public Order Crime)

3. กลุ่มที่สาม เป็นการจำแนกประเภทอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรมโดยได้แบ่งอาชญากรรมออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะคดี ได้แก่ 
          1) คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ ประกอบด้วย คดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์และวางเพลิง 
          2) คดีประทุษร้ายต่อชีวิตร่างกายและเพศ ประกอบด้วย คดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา กระให้ผู้อื่นตามโดยประมาท พยายามฆ่าทำร้ายร่างกาย และข่มขืนกระทำชำเรา 
          3) คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ประกอบด้วย คดีปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ลักทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์และรับของโจร 
          4) คดีที่น่าสนใจเป็นคดีที่สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก ประกอบด้วย คดีโจรกรรมรถยนต์ โจรกรรมรถจักรยานยนต์และลักทรัพย์ในเคหะสถาน 
          5) คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย เป็นกลุ่มคดีจากผลจากปราบปรามในความผิดที่สำคัญ ประกอบด้วยอาวุธปืนและวัตถุระเบิด การพนัน ยาเสพติด การค้าประเวณี สถานบริการ

Sample Text

Blog Archive

Powered by Blogger.

Video

Popular Posts

Our Facebook Page